วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย

ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย

ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์  การยอมรับความแตกต่างในเรื่องฐานะของบุคคล  การเน้นการพึ่งผู้อื่นและการยึดมั่นตัวบุคคล  ยังคงมีอิทธิพลต่อการปกครองเรื่อยมา  ดังจะเห็นได้ว่าลักษณะเจ้าขุนมูลนายยังคงอยู่ในระบบราชการไทยค่อนข้างมาก  ข้าราชการจำนวนไม่น้อยมีความรู้สึกว่า  ตนเป็นนายของประชาชน  เหมือนดังเช่น  มูลนายเป็นนายของพวกไพร่  ทั้งๆ   ที่ตามแนวความคิดของระบบบริหารราชการสมัยใหม่  ข้าราชการไม่ได้เป็นนายของประชาชน  หากแต่เป็นผู้นำบริการต่างๆ  ของรัฐไปสู่ประชาชน  ภายใต้ขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐ  โดยข้าราชการจะได้รับเงินเดือนเป็นผลตอบแทนในการปฏิบัติงาน  เงินเดือนเหล่านี้ก็ ได้จากภาษีอากรของประชาชน  ข้าราชการจึงมีฐานะเป็นผู้รับใช้ประชาชน  แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ในสังคมไทยกลับกลายเป็นว่า  ข้าราชการรู้สึกว่าตนเป็นนายของประชาชน  และทางฝ่ายประชาชนเองก็ยอมรับว่า  มีความรู้สึกต่อข้าราชการเหมือนดังเป็นมูลนายของตน  มีความกลัวเกรง  นอบน้อม  และเคารพเชื่อฟังระบบราชการ  ข้าราชการจึงมีอิทธิพลในการควบคุมความคิดและพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนเหมือนระบบไพร่เคยควบคุมชีวิตและความคิดอ่านของพวกไพร่ในสังคมสมัยเก่า  
ส่วนในด้านความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการผู้ใหญ่กับข้าราชการผู้น้อยภายในระบบราชการก็ได้รับอิทธิพลลักษณะความสัมพันธ์ของระบบไพร่อยู่ไม่น้อย  ระบบราชการไทยยังยึดมั่นในความผูกพันกันเป็นเชิงส่วนตัวตามลักษณะความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์  มากกว่าจะมีความสัมพันธ์กันเป็นทางการตามกฎระเบียบที่ได้วางไว้  และมีแนวโน้มว่าจะปฏิบัติราชการตามคำสั่งของหัวหน้าโดยไม่มีการโต้แย้ง และไม่มีความคิดริเริ่มใดๆ  เหมือนเช่นมูลนายระดับล่างปฏิบัติต่อมูลนายระดับสูงในสังคมสมัยเก่า  (ศุภรัตน์  เลิศพาณิชย์กุล, 2538: 105)
นอกจากลักษณะเจ้าขุนมูลนายที่ปรากฏอยู่ในระบบราชการแล้ว  การอุปถัมภ์ค้ำาชูการเน้นการพึ่งผู้อื่น  การยึดมั่นในตัวบุคคล  ยังคงมีอิทธิพลอยู่มากในสังคมไทย  ดังจะเห็นได้ว่า  พรรคการเมืองจะเสื่อมหรือจะเจริญรุ่งเรืองก็ขึ้นอยู่กับหัวหน้าพรรคเป็นสำคัญ  บุคคลใดแม้ว่าจะมีความสามารถมากเพียงใด  หากไม่ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูจากผู้ใหญ่ที่มีอำนาจแล้วก็มีโอกาสน้อยมากที่จะเจริญก้าวหน้าใน ตำแหน่งหน้าที่การงานอย่างเต็มที่  ความสามารถในการฝากเนื้อฝากตัวกับผู้มีอำนาจจึงเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง  นอกเหนือจากปัจจัยเรื่องการศึกษาต่อการเลื่อนตำแหน่งการงานและการเลื่อนฐานะในสังคม
นอกจากนั้น  ชนชั้นนำทางการเมืองและชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ  ก็มีความสัมพันธ์กันในรูปของการแลกเปลี่ยนประสานผลประโยชน์ ซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด  กล่าวคือ  ชนชั้นนำทางการเมืองจะให้ความคุ้มครองช่วยเหลือแก่กิจการทางด้านธุรกิจของชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ  ในขณะเดียวกันชนชั้นนำทางเศรษฐกิจก็จะให้ผลตอบแทนแก่ชนชั้นนำทางการเมืองในรูปของเงินตรา  ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์จึงยังคงมีอยู่ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าของสังคมสมัยใหม่  เพียงแต่รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ที่มีอยู่เหมือนว่าจะเน้นค่านิยมในเรื่องของ  การให้”  เพื่อ  แลกเปลี่ยน”  เป็นหลัก  ส่วนค่านิยมเรื่อง  กตัญญูกตเวที”  นั้นดูเหมือนว่าจะลดน้อยลงไปกว่าในสังคมสมัยเก่ามาก  (ศุภรัตน์  เลิศพาณิชย์กุล, 2538: 108)
ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยแบ่งได้เป็น  4  รูปแบบ  คือ
1) ระบบอุปถัมภ์ในหมู่ญาติ  นับว่าเป็นระบบที่เก่าแก่มากระบบหนึ่งในสังคมไทย
ตามวัฒนธรรมความสัมพันธ์ระหว่างญาติอาวุโส  (พี่  พ่อ  แม่  ปู่  ย่า  ตา  ยาย)  กับญาติผู้น้อง  (น้อง  ลูก  หลาน  เหลน)   เป็นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์อย่างชัดเจน  และน่าจะเป็นระบบที่คงทนถาวรที่สุดด้วย
2) ระบบอุปถัมภ์ในหมู่มิตรสหาย  ความเป็นเพื่อนในสังคมไทยปรากฏออกมาได้
หลายรูปแบบ  เช่น  เพื่อนเล่น  เพื่อนร่วมรุ่น  เพื่อนร่วมชั้น  เพื่อนสถานศึกษา  และเพื่อนตาย  เป็นต้น  ความคาดหวังระหว่างเพื่อนมีความลึกซึ้งและมากกว่าบางสังคม  เพื่อนในสังคมไทยคาดหวังต่อกันและกันมากกว่า  ความเป็นเพื่อนแท้จึงมักจะวัดกันได้ด้วยพฤติกรรมการช่วย เหลือเกื้อกูลกัน  หรือการที่เพื่อนซึ่งมีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจสูงกว่าให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนผู้ด้อยฐานะอย่างสม่ำเสมอ  ความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนก็จะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นจนถึงขั้นกลายเป็นญาติสนิทกันก็ได้  เพื่อนผู้ที่ได้รับความอุปถัมภ์ทางด้านวัตถุก็จะตอบแทนด้วยความจงรักภักดี  การรู้จักบุญคุณ  คอยป้องกันเพื่อนผู้ให้ความอุปถัมภ์ด้วยวิธีการต่างๆ  ตามสติปัญญา  และความสามารถที่ตนมีอยู่  การตอบแทนบุญคุณบางครั้งก็แสดงออกด้วยการนำสิ่งเล็กๆ  น้อยๆ  มาให้ในโอกาสอันควร
3) ระบบอุปถัมภ์ในองค์กรต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือของเอก ชนก็ตาม  มักจะ
ถูกมองในแง่ลบอยู่ตลอดเวลาว่า  ระบบอุปถัมภ์ทำให้ระบบบริหารขาดประสิทธิภาพ  ซึ่งก็มีส่วนจริงอยู่บ้าง  การใช้ระบบอุปถัมภ์มากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดความระส่ำระสาย   เกิดการเสียขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอยู่นอกวงอุปถัมภ์ได้เช่นกัน
4) ระบบอุปถัมภ์ระหว่างอาชีพ  เป็นระบบอุปถัมภ์ที่น่าจะมีลักษณะคงทนน้อยกว่า
แบบอื่นๆ  ที่กล่าวมาแล้ว  แต่ลักษณะอื่นๆ  ของระบบอุปถัมภ์ก็ยังมีครบ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปฏิบัติต่างตอบแทน  ความสูงศักดิ์ของผู้อุปถัมภ์และความจงรักภักดีของผู้รับอุปถัมภ์  สำหรับสังคมไทย  ระบบอุปถัมภ์ระหว่างอาชีพหรือข้ามอาชีพนี้  อาจจำแนกได้เป็น   2   กลุ่มใหญ่ๆ  คือ 
กลุ่มข้าราชการ  พ่อค้า  กับกลุ่มนักการเมือง  ชาวไร่  ชาวนา  การอุปถัมภ์ระหว่างข้าราชการและพ่อค้าเป็นไปในรูปของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางด้านวัตถุระหว่างกันมากกว่า  คือว่าฝ่ายราชการจะอำนวยสิทธิประโยชน์ให้แก่พ่อค้า  นักธุรกิจ  ซึ่งจะเป็นฝ่ายทดแทนบุญคุณหรือตอบแทนด้วยการให้เงินทองหรือทรัพย์สินมีค่าอย่างอื่น
นิธิ  เอียวศรีวงศ์   (2536: 94)  เสนอแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงระบบอุปถัมภ์ใน
สังคมไทยให้ผู้ที่มีหน้าที่บริหารประเทศตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของระบบโลกที่จะส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย  โดยให้การคาดการณ์หรือแนวโน้มในอนาคตไว้  ดังนี้
1) การผลิตในภาคเกษตรกรรมจะเป็นการผลิตที่ใช้ทุนเข้มแข็งยิ่งขึ้น  และการ
ปรับตัวเข้าสู่ระบบใหม่นี้  พวกที่มีทุนเดิมจะปรับตัวได้ง่ายกว่าชาวนารายเล็ก  ซึ่งป ระสบปัญหามากกว่าคนที่ปรับตัวไม่สำเร็จ  จะต้องกลายเป็นแรงงานรับจ้างในภาคเกษตร  หรือออกจากภาคเกษตรไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป
2) การอพยพเข้าสู่เมืองจะมีมากขึ้นโดยลำดับ  เนื่องจากความล่มสลายของเกษตร
ประเพณี  ปัญหาคือ  เมืองจะสามารถดูดซับผู้อพยพใหม่อย่างมีคุณภาพดีเพียงใด
3) ผลในทางการเมือง  คือ  ระบบการเมืองจะใช้ระบบพรรคการเมือง  มีสมาชิก
พรรคการเมืองเป็นตัวแทน  และมีลักษณะของระบบอุปถัมภ์มากขึ้น  การเมืองในลักษณะเช่นนี้จะไม่มีพลังเพียงพอที่จะก่อให้เกิดการปฏิรูปของระบบได้
ความผันแปรของระบบอุปถัมภ์  เนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นแบบสมัยใหม่  ทำให้ชาวบ้านชนบทต้องพึ่งพาผู้คนต่างๆ  หลากหลายมากขึ้น  ดังนั้นในชนบทจึงมีการอุปถัมภ์ใหม่ๆ  เกิดขึ้นมากมาย  ผลจากการเปลี่ยนแปลงทำให้กลุ่มอุปถัมภ์ผันแปรไป  คือ  การที่จะต้องพึ่งพาผู้อุปถัมภ์หลายๆ  คน  และความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายจะ ไม่ลึกซึ้งถาวรเหมือนสมัยก่อน  เพราะความสัมพันธ์ที่ผูกพันด้วยวัตถุ  อำนาจ  หรืออิทธิพลมากกว่าจิตใจ  (ธีรยุทธ  บุญมี, 2536: 184-185) 
จากการศึกษาระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย  แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยสามารถสรุปได้ดังนี้   
1) ความสัมพันธ์ตามระบบอุปถัมภ์ท้องถิ่นส่วนใหญ่ถูกคุกคามอย่างรุนแรงจากการ
เปลี่ยนแปลงทางสังคม  ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากกระบวนการพัฒนา
2) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ  ซึ่งมีลักษณะหลายด้าน   (More  Differentiation) 
การเกิดทรัพยากรใหม่ๆ  ทำให้ผู้นำท้องถิ่นสร้างระบบอุปถัมภ์ของตนขึ้นมา  ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์สมัยใหม่จะมีลักษณะเฉพาะด้านมากขึ้น  เช่น  ผู้อุปถัมภ์แต่ละคนจะมีอิทธิพลเฉพาะด้าน  ซึ่งอาจมีอิทธิพลทางด้านการเมือง  หรือการฝากเข้าทำงาน  อิทธิพลในระบบราชการ  ฯลฯ
3) ระบบอุปถัมภ์ใหม่ๆ  ไม่ค่อยจะมีลักษณะถาวร  มีลักษณะการตัก ตวงการใช้
ผลประโยชน์จากความสัมพันธ์ในช่วงสั้นๆ  มากขึ้น  มีความสัมพันธ์ทางจิตใจน้อยลง
4) ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์แบบใหม่มีลักษณะเชิงเฉพาะด้าน  มักจะมาจาก
ภายนอกชุมชน  ทำให้ไม่เกิดความผูกพันทางจิตใจ  หรืออารมณ์ความรู้สึกมากนัก  การแลกเปลี่ยนเชิงวัตถุ  หรือการใช้สอย  (Instrumental  Exchange)  เป็นหลัก
5) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้น  ทำให้มีการขยายตัวของเมือง  และของ
ประชาชน  บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้โดยอิสระ  หรือไม่ค่อยผูกพันกับระบบอุปถัมภ์มากขึ้น  การมีอยู่ของระบบอุปถัมภ์ในสังคมใหม่ที่พยายามพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยจะเป็นการซ้ำซ้อนของสองค่านิยมซึ่งมีลักษณะที่ขัดแย้งกัน  ดังนั้น  หากสังคมมีการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงมากขึ้น  ระบบอุปถัมภ์ที่มีก็ย่อมจะลดลงไปด้วย
กล่าวโดยสรุป  ระบบอุปถัมภ์เป็นระบบหนึ่งที่มีความเป็นมาและพัฒนาการมาอย่าง
ยาวนานร่วมกับสังคมไทยมาตั้งแต่เริ่มแรก  โดยเป็นระบบความสัมพันธ์ของคน   2  ฝ่าย  ซึ่งมีความไม่เท่าเทียมกัน  ฝ่ายที่อยู่เหนือกว่า  คือ  มีทรัพยากรมากกว่า  หรือสูงศักดิ์  มีอำนาจมากกว่า  จะอยู่ในฐานะอุปถัมภ์  ฝ่ายที่อยู่ต่ำกว่าคือ  ผู้ที่มีทรัพยากรน้อยกว่า  หรือมีอำนาจด้อยกว่าจะ เป็นผู้ใต้อุปถัมภ์  ต่างฝ่ายต่างมีการแสวงหาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันในลักษณะต่างตอบแทน  ซึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของคนทั้ง  2  ความสัมพันธ์ลักษณะนี้ดำรงอยู่ได้ไม่ใช่เพียงเพราะต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์เท่านั้น  แต่ต้องมีอุดมการณ์ที่ช่วยจรรโลงความสัมพันธ์อย่างนี้ เอาไว้   ระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยเริ่มมีขึ้นในระบบสังคม  และแพร่กระจายไปสู่ระบบการเมือง  ผ่านทางชนชั้นน าทางการเมืองและชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ  โดยเป็นการอุปถัมภ์ระหว่างชนชั้นนำทางการเมืองด้วยกัน  หรือระหว่างชนชั้นนำทางเศรษฐกิจด้วยกัน  แต่ใน ระยะหลังนี้จะเห็นได้ว่า  มีการพัฒนาของระบบอุปถัมภ์  โดยเป็นการอุปถัมภ์ระหว่างกลุ่มชนชั้นนำทางการเมืองกับชนชั้นนำทางเศรษฐกิจด้วย  
การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับระบบอุปถัมภ์นี้ถือเป็นแนวคิดสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจถึงความเป็นมา  พัฒนาการ  รวมไปถึงบทบาทของกลุ่มธุรกิจการเมืองในประเทศไทย  และที่สำคัญคือกระบวนการประสานประโยชน์ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจของกลุ่มธุรกิจการเมืองนั่นเอง


อำพัน  ถนอมงาม